Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/427
Title: ปัญหาการผลิตหัวเทียน บริษัท สยามเอ็นจีเคสปาร์คปลั๊ก จำกัด
Other Titles: Problems in spark plug production of Siam NGK spark plug Ltd
Authors: ชัยวัฒน์, สวัสดี
Sawasdee, Chaiwat
Keywords: หัวเทียน - วิจัย
รถยนต์ - อุปกรณ์ไฟฟ้า - วิจัย
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป)
การค้นคว้าอิสระ
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการผลิตหัวเทียน บริษัท สยามเอ็นจีเคสปาร์คปลั๊ก จำกัด และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการผลิตหัวเทียน บริษัท สยามเอ็นจีเคสปาร์คปลั๊ก จำกัด ในทัศนะของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการผลิตหัวเทียน บริษัท สยามเอ็นจีเคสปาร์คปลั๊ก จำกัด ในภาพรวมมี คะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 6 ด้าน เรียงลำดับจาก มากที่สุด 3 ด้านคือ ด้านการการวางแผน ด้านเครื่องจักร และ ด้านวิธีการทำงาน 2) ผลการเปรียบเทียบปัญหา การผลิตหัวเทียน บริษัท สยามเอ็นจีเคสปาร์คปลั๊ก จำกัด ในทัศนะของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำแหน่งงาน ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการ ผลิตหัวเทียน ในภาพรวม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้าน พนักงาน พนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำแหน่งงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านเครื่องจักร พนักงานที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำแหน่งงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านวัตถุดิบ พนักงานที่มีรายได้เฉลี่ยต่อ เดือน และตำแหน่งงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านวิธีการทำงาน พนักงานที่มีอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการวางแผน พนักงานที่มีตำแหน่งงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01และ 0.05 ตามลำดับ ส่วนพนักงานที่มีรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 และด้านการควบคุมคุณภาพ พนักงานที่มีตำแหน่งงานและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความ คิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ0.05ตามลำดับ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/427
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก161.2 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ72.19 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ120.54 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ87.6 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ189.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1152.68 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.45 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3135.39 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4793.7 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5308.05 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม161.92 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก400.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.