Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/472
Title: ความคิดเห็นของพนักงานสายงานระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) สำนักงานใหญ่ ต่อระบบการประเมิน 360 องศา
Other Titles: Opinions of Transmission Line Employees, Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) Headquarters, on 360 Degree Performance Appraisal System
Authors: พรหมศิริ, นิ่มผึ้ง
Nimphueng, Promsiri
Keywords: การบริหารงานบุคคล
การวิเคราะห์งาน
การประเมินผลงาน
Issue Date: 2013
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานสายงานระบบส่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ)) สำนักงานใหญ่ ต่อระบบการประเมิน 360 องศา 2)เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อระบบการประเมิน 360 องศา ของพนักงานจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานใหญ่จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถา ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.9557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรบษน การทดสอบความแตกต่างหาค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบ่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นต่อระบบการประเมิน 360 องศา ค่าเฉลี่ยความคิเห็นในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก จำนวน 1 ด้าน คือ ความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมินผล พนักงานทราบความหมายและวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศาและมีความคาดหวังในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด และอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 4 ด้านได้แก่ ความเหมาะสมของเครื่องมือ มีการชี้แจงผลการปฏิบัติตามขิ้นงานจากผู้ประเมิน และเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถชี้แจงเหตุผลการปฏิบัติงานมีระเบียบวินัยด้้วยความรอบคอบ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความคิดเห็นต่อผู้ประเมิน ผู้บริหารต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นอย่างดีและควรให้คำชี้แจงแก่พนักงานเมื่อมีปัญหาในการทำงาน การนำผลการประเมินการปฏิบัติงานมาใช้มีการนำจุดอ่นอหรือข้อบกพร่องของพนักงานมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาบุคลากรให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2)ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นต่อระบบการประเมิน 360 องศา ของพนักงาน จำแนกตามอาะ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และรายนไดเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมินผล พนักงานที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้พนักงานมีความมุ่งมั่นและผูกพันกับการเรียนรู้มีการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเกณฑ์มาตรฐานกับผลการปฏิบัติงาน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/472
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก195.86 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ2.49 MBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ2.78 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ68.09 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ111.62 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1146.21 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 243.47 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 34.98 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 41.41 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5246.15 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม136.74 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก268.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.