Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/524
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับบรรยากาศองค์กร โรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
Other Titles: The Relationships between Organizational Culture and Organizational Climate of the Catholic Schools in Bangkok Archdiocese
Authors: จินตศักดิ์, ยุชัยสิทธิกุล
Yuchaisittikul, Chintasak
Keywords: วัฒนธรรมองค์กร - วิจัย
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในภาพรวม 2) ระดับบรรยากาศองค์กรในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในภาพรวม 3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับบรรยากาศองค์กรในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร จำนวน 435 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 90 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมองค์กรโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน และอยู่ในระดับมาก 9 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ความเอื้ออาทร ความมุ่งประสงค์ของโรงเรียนการยอมรับ ความมีคุณภาพความหลากหลายของบุคลากรการตัดสินใจ ความไว้วางใจการมอบอำนาจ และความซื่อสัตย์สุจริต 2) ระดับบรรยากาศองค์กรโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การกำหนดเป้าหมายการติดต่อสื่อสารบรรยากาศองค์การภาวะผู้นำกระบวนการควบคุมบังคับบัญชาเป้าหมายของผลการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรม การจูงใจ การปฏิสัมพันธ์และการตัดสินใจ 3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรโรงเรียนคาทอลิกกับบรรยากาศองค์กรโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากที่สุดที่น่าสนใจคือความสัมพันธ์ระหว่างความเอื้ออาทรกับภาวะผู้นำความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับกับภาวะผู้นำความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับกับการปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/524
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก187.02 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ78.12 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ112.26 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ64.87 kBAdobe PDFView/Open
table of content.pdfสารบัญ310.58 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1307.74 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 21.67 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3414.15 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 43.06 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 51.53 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม157.83 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.