Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/633
Title: พฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการของ ที่ทำการไปรษณีย์ในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Customers’ Behaviors and Satisfaction towards the services of the Post Offices in Samutprakan Province
Authors: วิทิต, อินทร
Inthorn, Withid
Keywords: ไปรษณีย์ - วิจัย
ไปรษณีย์ - ความพอใจของผู้ใช้บริการ - วิจัย
สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการของที่ทำการไปรษณีย์ในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการของที่ทำการไปรษณีย์ ในจังหวัดสมุทรปราการ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการของที่ทำการไปรษณีย์ ในจังหวัดสมุทรปราการ ตามตัวแปรส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการของที่ทำการไปรษณีย์ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96 การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์มาใช้บริการเพื่อธุระส่วนตัว ร้อย ละ 71.50 สำหรับประเภทของบริการที่ใช้ พบว่า ใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ มากที่สุด ร้อยละ 20.20 รองลงไปคือ ไปรษณียภัณฑ์ ร้อยละ 19.90 ส่วนประเภทสินค้าที่ซื้อ พบว่า ผู้ใช้บริการซื้อสินค้าประเภท กล่องสำเร็จรูป ซองจดหมาย แสตมป์ทั่วไป ร้อยละ 56.59 โดยมาใช้บริการเป็นช่วงเวลาของเดือนที่ไม่แน่นอน ร้อยละ 64.80 สำหรับความถี่ของการใช้ บริการส่วนใหญ่มาเดือนละ 2-3 ครั้ง ร้อยละ 41.30 และวันที่สะดวกมาใช้บริการ คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ร้อยละ 68.00 ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มาใช้บริการในช่วงเช้า ร้อยละ 51.80 สำหรับระยะเวลาของการใช้บริการ พบว่า มาใช้ครั้งละ 11-20 นาที มากที่สุด ร้อยละ 48.50 ส่วนค่าใช้จ่าย พบว่า ส่วนใหญ่เสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 51-100 บาท/ครั้ง ร้อยละ 35.50 2) สำหรับ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อด้านเจ้าหน้าที่รับฝาก เป็นค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศ ต่างกันมีความพึงพอใจ ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความ พึงพอใจที่มีต่อด้านสถานที่ให้บริการและด้านเจ้าหน้าที่นำจ่าย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ส่วนด้านอื่นๆ ที่เหลือ ความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบผู้ใช้บริการที่มีอาชีพต่างกัน พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีเพียง 1 ด้าน ที่ความพึงพอใจแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านเจ้าหน้าที่นำจ่าย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ใช้บริการที่มี อายุ ระดับการศึกษา และ รายได้ต่อเดือนต่างกันมีความพึงพอใจ ทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4) สำหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้ง นี้ ที่มีความถี่สูงสุด ได้แก่ เจ้าหน้าที่นำจ่ายควรให้เวลาแก่เจ้าของบ้านมากขึ้นเพื่อให้ออกมารับไปรษณียภัณฑ์ได้ทัน ควร จัดสถานที่จอดรถสำหรับผู้ใช้บริการให้เพียงพอ ควรมีป้ายคอมพิวเตอร์อักษรวิ่งเพื่อแนะนำบริการและข้อมูลข่าวสาร ควร เพิ่มพนักงานรับฝาก และควรเพิ่มช่องบริการรับฝากให้เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/633
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก121.3 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ73.47 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ117.86 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ77.23 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ165.98 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1214.81 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2896.57 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3164.15 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4575.7 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5321.96 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม143.47 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก459.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.