Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/84
Title: การบริหารตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา ของรัฐบาล เขตจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Administration Based on Sufficiency Economy Philosophy in Government Secondary Schools in Samut Prakan Province
Authors: อรกานต์, เพ็งขันธ์
Phengkhun, Orakarn
Keywords: การบริหาร
ความรับผิดชอบต่อการบริหาร
Issue Date: 2013
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน มัธยมศึกษาของรัฐบาล เขตจังหวัดสมุทรปราการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ในภาพรวม 2) เปรียบเทียบการบริหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล เขตจังหวัด สมุทรปราการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร จำแนกตาม เพศ และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เปรียบเทียบ การบริหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล เขตจังหวัดสมุทรปราการ ตาม ความคิดเห็นของครู จำแนกตาม เพศ และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 408 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยการบริหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา ของรัฐบาล เขตจังหวัดสมุทรปราการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในภาพรวม พบว่า การบริหารตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของผู้บริหารอยู่ในระดับมากที่สุด และตามความคิดเห็นของครูอยู่ ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการบริหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล เขตจังหวัดสมุทรปราการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารจำแนกตามเพศในภาพรวม พบว่า ผู้บริหารเพศหญิงมี ความคิดเห็นสูงกว่าผู้บริหารเพศชายอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานในภาพรวม พบว่า ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นสูงกว่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์ใน การทำงานต่ำกว่า 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 3) การเปรียบเทียบการบริหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล เขตจังหวัดสมุทรปราการ ตามความคิดเห็นของครูจำแนกตามเพศในภาพรวม พบว่า ครูเพศหญิงมีความคิดเห็นสูงกว่าครูเพศชายอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ในภาพรวม พบว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นสูงกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการ ทำงานต่ำกว่า 10 ปีอย่างมีนัยสำคัญ .05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/84
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก113.81 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ66.66 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ97.67 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ67.21 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ176.59 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1227.75 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 210.99 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3177.6 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 41.44 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5623.65 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม141.23 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก570.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.