Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1052
Title: พฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารพร้อมบริโภคจากร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Behaviors on Purchasing Ready-To-Eat Food from 7-11 Convenient Stores in Bang Pla Sub-district, Bang Pli District, Samut Prakarn Province
Authors: ธิถาปัตย์, แตงแก้ว
Taengkaew, Thithapat
Keywords: พฤติกรรมการบริโภค,อาหาร,ร้านสะดวกซื้อ,เซเว่นอีเลฟเว่น,สมุทรปราการ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารพร้อมบริโภคจากร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่นในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารพร้อมบริโภคจากร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่นในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการร้านสะดวกซื้อเซเว่น – อีเลฟเว่น ในเขตตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีทั้งหมด 10 สาขา ระหว่างวันศุกร์-วันเสาร์ และวันอาทิตย์ เดือนธันวาคม 2557 จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารพร้อมบริโภคจากร้านสะดวกซื้อ เซเว่น-อีเลฟเว่นในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการให้ความสำคัญในการเลือกซื้ออยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารพร้อมบริโภคจากร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่นในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มี เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาและรายได้รวมเฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนต่างกัน โดยรวมมีพฤติกรรมการเลือกซื้อไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ใช้บริการที่มีอาชีพต่างกัน โดยรวมมีพฤติกรรมการเลือกซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้ใช้บริการที่มีอาชีพต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกซื้อโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษา และรายได้รวมเฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1052
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก206.49 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ97.91 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ204.77 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ113.76 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ465.44 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1377.6 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2958.93 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3399.51 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.95 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5759.55 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม270.46 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก450.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.