Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1469
Title: การติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีการศึกษา 2556-2557
Other Titles: A Follow-up Study and Performance Evaluation of Graduates of Dhonburi Rajabhat University, 2013-2014 Academic Year
Authors: สถาบันวิจัยและพัฒนา
Research and Development Institute
Keywords: การปฏิบัติงาน
ผู้สำเร็จการศึกษา
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การติดตามการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีปีการศึกษา 2556-2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพทั่วไป 2.ศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน 3.ศึกษาความความพึงพอใจที่มีต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีปีการศึกษา 2556-2557 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1. แบบติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีปีการศึกษา 2556 - 2557 2. ประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 1 การเก็บผ่านระบบสารสนเทศ ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลโดย การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ (1) ความถี่และร้อยละ (2) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis and Synthesis) ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. สภาพทั่วไปของผู้สำเร็จการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบติดตามผลฯ จำนวน 2,358 คน เป็นหญิงจำนวน 1,420 คน (ร้อยละ 60.20) ชายจำนวน 938 คน (ร้อยละ 39.80) เป็นการศึกษาภาคปกติ จำนวน 818 คน (ร้อยละ 34.70) และการศึกษาภาคพิเศษ จำนวน 1,540 คน (ร้อยละ 65.30) เป็นปริญญาตรี 4 ปี จำนวน 1,115 คน (ร้อยละ 47.30) และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง/เทียบโอน) จำนวน 1,243 คน (ร้อยละ 52.70) ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยปานกลาง (2.50 – 2.99) จำนวน 1,145 คน (ร้อยละ 48.30) รองลงมามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (3.00 – 3.49) จำนวน 656 คน (ร้อยละ 27.60) ส่วนใหญ่จบจากคณะวิทยาการจัดการ จำนวน 1,545 คน (ร้อยละ 65.50) รองลงมาคือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 385 คน (ร้อยละ 16.30) คณะครุศาสตร์ จำนวน 271 คน (ร้อยละ 11.50) และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 157 คน (ร้อยละ 6.70) 2. สภาพการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาภาคปกติจาก 4 คณะ จำนวน 818 คน (ร้อยละ 34.70) เป็นคณะครุศาสตร์ จำนวน 217 คน (ร้อยละ 100) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 157 คน (ร้อยละ 68.79) คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 352 คน (ร้อยละ 22.78) และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 87 คน (ร้อยละ 22.60) โดยสภาพการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาภาคปกติจากคณะครุศาสตร์ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาสังคมศึกษา (ร้อยละ 89.80) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาอังกฤษธุรกิจ (ร้อยละ 90.00) คณะวิทยาการจัดการสำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ร้อยละ 94.83) และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์) และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 100) ตามลำดับผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำส่วนใหญ่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างองค์กรเอกชน จำนวน 1,510 คน (ร้อยละ 72.08) รองลงมาเป็นข้าราชการหรือพนักงานหรือลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ จำนวน 310 คน (ร้อยละ 14.80) เจ้าของธุรกิจส่วนตัวหรือเจ้าของกิจการหรืออาชีพอิสระ จำนวน 206 คน (ร้อยละ 9.83) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีงานทำสูงที่สุดร้อยละ 94.55 รองลงมา คือ คณะวิทยาการจัดการร้อยละ 90.68 คณะครุศาสตร์ร้อยละ 77.86 และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร้อยละ 75.80 ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานตรงกับสาขาที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 1,452 คน(ร้อยละ 69.31) และไม่ตรงกับสาขาที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 643 คน (ร้อยละ 30.69) ความต้องการในการรับบริการจากมหาวิทยาลัย พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าภาษาต่างประเทศเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพมากที่สุด จำนวน 1,125 คน (ร้อยละ 47.70) รองลงมา คือ คอมพิวเตอร์ จำนวน 973 คน (ร้อยละ 41.30) การฝึกปฏิบัติงานจริงจำนวน 806 คน (ร้อยละ 34.20) ส่วนใหญ่ต้องการรับรู้ด้านข้อมูลข่าวสาร จำนวน 2,160 คน (ร้อยละ 91.60) รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้หรือประสบการณ์และวิชาชีพจำนวน 376 คน (ร้อยละ 15.90) โดยมีผู้ได้รับการยกย่องในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ คุณธรรมหรือจริยธรรมหรือเกียรติบัตรหรือผลงานเผยแพร่ (ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา)จำนวน 22 คน (ร้อยละ 0.93) 3. ผู้สำเร็จการศึกษามีความพึงพอใจในภาพรวมของมหาวิทยาลัยในระดับมาก (3.84 ± 0.58) โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ 1) ด้านอาจารย์ผู้สอนและการจัดการเรียนการสอน (4.09 ± 0.56) 2) ด้านการจัดการหลักสูตร การเรียนการสอน (4.04± 0.58) 3) ด้านการบริการแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า (3.70 ± 0.77) 4) ด้านทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน (3.68 ± 0.74) และ 5) ด้านสถานที่สำหรับจัดการเรียนการสอน (3.66 ± 0.79)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1469
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก71.77 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ99.02 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ75.79 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ106.62 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1122.68 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2952.6 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3144.52 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4795.49 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5347.69 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม101.52 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก289.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.