Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1609
Title: เจตคติและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา ต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ
Other Titles: Students’ Attitude and Behavior towards Learning the Course of English for Hospitality Industry
Authors: จันทิมา, ชุวานนท์
ธญวรรณ, ก๋าคำ
ชมพูนุท, ถาวรวงศ์
Keywords: เจตคติ
พฤติกรรมการเรียน
ภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2019
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: เจตคติและพฤติกรรมการเรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ผู้วิจัยจึงศึกษาวิจัยเรื่อง “เจตคติและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ 2) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในรายวิชานี้ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ ประชากรในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามในสัปดาห์สุดท้ายของภาคเรียนแล้ววิเคราะหขอมูล ด้วยการหาคารอยละ คาเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีเจตคติเชิงบวกในระดับมากที่สุด 7 ใน 10 ประเด็นต่อวิขาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการและเห็นประโยชน์ของการเรียนรายวิชานี้ เจตคติในระดับมากที่สุดสูงสุดคือ 1) อยากเก่งภาษาอังกฤษอยากพูดภาษาอังกฤษได้ดี (x̄ =4.76) 2) ภาษาอังกฤษจะทำให้นักศึกษาเดินทางไปประเทศต่างๆ ได้ (x̄ =4.66) นักศึกษามีระดับการปฏิบัติของพฤติกรรมในการเรียนด้วยค่าเฉลี่ยในระดับมาก 7 ใน 10 ประเด็นและปานกลาง 3 ประเด็น ระดับค่าเฉลี่ยสูงสุดของพฤติกรรมในการเรียนภาษาอังกฤษคือการดูภาพยนตร์ ฟังเพลงภาษาอังกฤษและฝึกภาษาจากสื่อต่างๆ (x̄ =4.09) ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนในภาพรวมพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 4 ใน 12 ประเด็น และพึงพอใจระดับมากอีก 8 ประเด็น ประเด็นที่พึงพอใจสูงสุดคือการให้คะแนนที่ยุติธรรม (x̄ =4.73 ) โดยสรุปนักศึกษาส่วนใหญ่มีเจตคติเชิงบวกในระดับมากที่สุด แต่ระดับการปฏิบัติของพฤติกรรมในการเรียนมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ความพึงพอใจของนักศึกษาในการเรียนการสอนรายวิชานี้ส่วนใหญ่เป็นระดับมาก ในสภาพการณ์เช่นนี้การจัดการเรียนการสอน การเลือกกิจกรรมและสื่อการเรียนที่ดึงดูดความสนใจและบูรณาการกับสภาพแวดล้อมทางสังคมในปัจจุบันให้สนองตอบความต้องการของนักศึกษาและความแตกต่างระหว่างบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1609
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก43.72 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ103.29 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ64.8 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ91.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1157.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2411.22 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 388.94 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4223.14 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5266.55 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม136.48 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก225.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.