Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1734
Title: การศึกษาปัจจัยและแนวทางป้องกันตามหลักเบญจศีลเพื่อส่งเสริมการไม่กระทำความผิดซ้ำ ของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: A study of factors and illegal prevention based on Five Precepts for encouraging the recidivists in the Samutprakarn provincial prison to deny any criminal wrongdoing
Authors: ศิลป์ชัย, ลีลิตธรรม
Leelitthum, Silchai
วงศกร, เพิ่มผล
Poempol, Wongsakorn
Keywords: การกระทำผิดซ้ำ
หลักเบญจศีล
แนวทางป้องกัน
ผู้ต้องขัง
เรือนจำ
สมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัย เรื่อง การศึกษาปัจจัยและแนวทางป้องกันตามหลักเบญจศีลนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการไม่กระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการ เป็นการศึกษาในลักษณะการวิจัยและพัฒนา(The Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการละเมิดกฎหมาย การกระทำความผิดซ้ำ และเพื่อศึกษาแนวทางทางป้องกันตามหลักเบญจศีล ในพระพุทธศาสนาสำหรับส่งเสริมการไม่กระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขัง ในเรือนจำกลาง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มประชากร คือ ผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำ จำนวน 312 คน วิธีการศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การสัมภาษณ์ผู้ทรงวุฒิในด้านต่าง ๆ ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการละเมิดกฎหมาย การกระทำความผิดซ้ำพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศชาย มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพโสด ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 5,000 - 10,000 บาท มีสมาชิกในครอบครัวจานวน 5 - 7 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กระทำความผิดเป็นครั้งที่ 4 ส่วนใหญ่เกี่ยวพระราชบัญญัติยาเสพติด ก่อนต้องโทษอาศัยอยู่กับบิดามารดา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน ภาพแวดล้อมเป็นชุมชนเมืองที่มีผู้จำหน่วยและเสพยาเสพติด สมาชิกในครอบครัวเคยต้องโทษคดียาเสพติด สำหรับพฤติกรรมส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่างเคยเสพยาเสพติด เล่นการพนัน เที่ยวสถานบันเทิง และการคบเพื่อนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าปัญหาและสาเหตุในการกระทำผิดซ้ำเกิดจากตัวผู้กระทำผิดเองเป็นสำคัญ เพื่อต้องการเงินมาอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ชีวิต ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ด้านครอบครัวก็ดี ด้านสังคมก็ดี ด้านสภาพแวดล้อมก็ดี ด้านเศรษฐกิจก็ดี หรือด้านความเชื่อเกี่ยวกับการกระทำผิด การฝ่าฝืนข้อห้ามตามหลักเบญจศีล ก็ดี ปัจจัยทุกด้านมีผลเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดซ้ำอยู่ในระดับปานกลาง แนวทางทางป้องกันตามหลักเบญจศีล ในพระพุทธศาสนาสำหรับส่งเสริมการไม่กระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขัง พบว่า หลักเบญจศีล เป็นแนวประพฤติปฏิบัติขั้นพื้นฐานของบุคคลทุก ๆ คนในสังคม หากฝ่าฝืนจะก่อให้เกิดความผิดตามกฎหมายได้ ดังนั้น ถ้าบุคคลทุก ๆ คนมีความตั้งใจปฏิบัติตามหลักเบญจศีล การกระทำความผิดก็จะไม่เกิดขึ้น หลักธรรมดังกล่าวสามารถนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขผู้กระทำผิดมิให้กระทำผิดซ้ำอีกได้ และช่วยป้องกันมิให้เกิดการกระทำผิดขึ้นในสังคมได้
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1734
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก83.09 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ160.29 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ65.67 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ183.55 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1159.73 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 22.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3229.88 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.25 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5615.89 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม289.26 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก716.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.