Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1804
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันพี่เลี้ยง
Other Titles: Development of Management Model for Educational Quality Development and local Development Project: A Case Study of Dhonburi Rajabhat University is the Mentor Institution
Authors: สุนันทา, แก้วสุข
Kaewsuk, Sunanta
สมจินตนา, จิรายุกุล
Jirayukul, Somjintana
สุธิดารัตน์, มัทธวรัตน์
Mattavarat, Sutidarat
สุธาสินี, แสงมุกดา
Saengmookda, Suthasinee
Keywords: พี่เลี้ยง
การพัฒนาท้องถิ่น
การศึกษา
การบริหารจัดการโครงการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันพี่เลี้ยง ปีงบประมาณ 2562 และ2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันพี่เลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการ 20 คน ครู/ผู้บริหารของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 4 ฉบับ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยตามแนวคิดทฤษฎีฐานราก และกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบตามกรอบแนวคิดทฤษฏีระบบ แล้วทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบ โดยจัดประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน เครื่องมือที่ใช้มี 1 ฉบับ เป็นประเด็นที่กำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิวิเคราะห์และวิจารณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงาน มีการจัดอบรม 20 โครงการ โดยเรื่องที่จัดอบรมมี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการผลิตสื่อและการใช้เทคโนโลยี ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านทักษะการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และด้านจิตวิทยาการศึกษา ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการในระดับมากที่สุด ปัจจัยที่ส่งเสริม คือ ด้านบุคลากร ได้แก่ อาจารย์มีความรับผิดชอบและมีความสามารถบริหารจัดการโครงการเป็นอย่างดี ผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนเครือข่ายให้ความร่วมมือดี และวิทยากรมีความรู้ความสามารถ ด้านงบประมาณ มีงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านการบริหารจัดการ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA และจัดอบรมเน้นการปฏิบัติ และด้านสถานที่และอุปกรณ์ ส่วนมากจัดที่ห้องประชุมของโรงเรียน และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคที่พบ ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ และด้านงบประมาณที่มีผลเกี่ยวข้องกัน คือ ครูในโรงเรียนบางแห่งมีกิจกรรมที่ต้องทำมาก ทำให้การติดต่อประสานงานการจัดอบรมต้องติดต่อหลายครั้ง หรือเมื่อครูมีภารกิจอื่นแทรกทำให้ครูเข้าร่วมอบรมไม่ได้ จำนวนครูที่เข้าอบรมจึงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณไม่สามารถทำได้ตามที่ขออนุมัติไว้ ด้านสถานที่และอุปกรณ์ อินเตอร์เน็ตของโรงเรียน/ครูช้า ทำให้ครูทำกิจกรรมไม่ทัน 2) ผลการพัฒนารูปแบบ ได้รูปแบบ มีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ส่วนที่ 2 กระบวนการ ส่วนที่ 3 ผลผลิต/ผลลัพธ์ ส่วนที่ 4 ปัจจัยที่ส่งเสริม และส่วนที่ 5 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และผลการทดสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบ โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบที่ได้มีความเที่ยงตรง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1804
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก149.81 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ257.6 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ174.71 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ385.14 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1387.46 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.17 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3348.35 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.31 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5407.03 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม324.66 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.