Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1842
Title: การพัฒนาระบบสารสนเทศครูที่ปรึกษาศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The development of teachers, counselors, training centers and training of children, Samut Prakan
Authors: ภัทรพล, พรหมมัญ
Prommun, Phattharapol
Keywords: ระบบสารสนเทศ
ครูที่ปรึกษา
ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา
สมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2015
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. research and development institute .
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศครูที่ปรึกษาศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จังหวัดสมุทรปราการ ขั้นตอนในการพัฒนาระบบแบ่งออกเป็น การศึกษาปัญหาของระบบงานเดิม การวิเคราะห์ระบบงานใหม่ การออกแบบ การพัฒนา และการทดสอบระบบ โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบ เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับพัฒนาระบบสารสนเทศเชิงวัตถุ และ ระบบฐานข้อมูล โดยใช้ในแนวของวงจรในการพัฒนาระบบ ( System Development Life Cycle : SDLC ) ประเมินสิทธิภาพของระบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูที่ปรึกษา จำนวน 21 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินคุณภาพระบบสารสนเทศสารสนเทศครูที่ปรึกษาศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ให้การยอมรับในประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเท่ากับ 3.80 ซึ่งอยู่ในระดับเกณฑ์ดี และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบระบบสารสนเทศสารสนเทศครูที่ปรึกษาศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งแบ่งการประเมินทั้งหมด 3 ด้าน 1) การประเมินความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพพบว่า กลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้ระบบส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญในเรื่องของการเข้าใช้ระบบได้ง่าย มาเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 , อันดับที่ 2 การใช้งานประโยชน์จากระบบ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 , ประสิทธิภาพ/ความรวดเร็วในการตอบสนองของระบบ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 , อันดับที่ 3 ความเหมาะสมของรูปแบบที่ใช้ในระบบ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 , อันดับที่ 4 ระบบใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 2) การประเมินความพึงพอใจด้านการใช้ระบบพบว่า ผู้ใช้ระบบส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญในเรื่องของระบบสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มาเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 , การใช้งานครอบคลุมสิ่งที่ต้องการ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 , อันดับที่ 2 ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง ทันสมัย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 , ผลการใช้กับความต้องการทั้งปัจจุบันและย้อนหลัง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 , อันดับที่ 3 ง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 3) การประเมินความพึงพอใจด้านการประมวลผลพบว่า ผู้ใช้ระบบส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญในเรื่องของมีการป้องกันความผิดพลาดของระบบจากการใช้งาน มาเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 , อันดับที่ 2 มีการจัดระดับความปลอดภัยหรือกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 ,อันดับที่ 3 มีการสำรองข้อมูลสารสนเทศตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 , อันดับที่ 4 การประมวลผลถูกต้องแม่นยำ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 , การประมวลผลข้อมูลรวดเร็ว ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1842
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก98.86 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ125.78 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ72.44 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1218 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.4 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3684.39 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4351.84 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5174.42 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม105.95 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก508.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.