Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/265
Title: ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ : กรณี บริษัท TNIS จำกัด
Other Titles: Binding of Officials toward TNIS Company Limited.
Authors: ณัฏฐนันท์, ชวิตรานุรักษ์
Chawitranurak, Natthanan
Keywords: การจูงใจในการทำงาน - วิจัย
ความผูกพันต่อองค์การ - วิจัย
ความพอใจในการทำงาน - วิจัย
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป)
การค้นคว้าอิสระ
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat University Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ : กรณี บริษัท TNIS จำกัด และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ จำแนก ตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัท TNIS จำกัดจำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เฉพาะด้านประสบการณ์การทำงานมีอิทธิพล อยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมาก 5 รายการ 2 อันดับแรก คือ สัมพันธภาพที่ดีของทีมงาน และ การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน ด้านโครงสร้างขององค์การ มีอิทธิพลต่อความผูกพันอยู่ในระดับมาก 1 รายการ คือ พนักงานสามารถวางแผนปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบได้ด้วยตนเอง ภายในกรอบกฎระเบียบของบริษัท และด้านคุณลักษณะของงาน และบทบาทในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพัน อยู่ในระดับมาก 1 รายการ คือ งานที่ทำเป็นงานที่ท้าท้าย ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีเพศ และตำแหน่งงานต่างกัน มีอิทธิพลต่อความผูกพัน ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะ ของงานและบทบาทในการทำงาน พนักงานที่มีอายุ ต่างกัน มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านประสบการณ์ทำงาน พนักงานที่มีตำแหน่งงาน สถานภาพ สมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ต่างกัน มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงาน โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ และด้านโครงสร้างขององค์การ พนักงานที่มีเพศต่างกัน มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/265
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก141.09 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ72.89 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ107.48 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ71.58 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ103.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่1142.34 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่2505.08 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่3151.78 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่4785.28 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่5234 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม135.56 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก257.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.