Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/302
Title: การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานฝ่ายขายและบริการผู้ประกอบการโทรคมนาคม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Development of a learning organization in sales and service of telecom operators, TOT Public Company Limited
Authors: ธัญนันท์, พงษา
Pongsa, Tanyanan
Keywords: การพัฒนาองค์การ
Issue Date: 2013
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานฝ่ายขาย และบริการผู้ประกอบการโทรคมนาคม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 2) เปรียบเทียบการพัฒนาองค์การแห่ง การเรียนรู้ฝ่ายขายและบริการผู้ประกอบการโทรคมนาคม ของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานฝ่ายขายและบริการผู้ประกอบการโทรคมนาคม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างการหาค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายขาย และบริการผู้ประกอบการโทรคมนาคม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านแบบแผนความคิดอ่าน พบว่า พนักงานเห็นความสำคัญของงานที่ปฏิบัติที่จะส่งผล กระทบต่อความสำเร็จขององค์การ ด้านทักษะในการพัฒนาตน พบว่า พนักงานมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง ให้เป็นผู้รอบรู้ในทุก ๆ ด้าน เพื่อนำมาใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อ เพิ่มพูนศักยภาพของตนให้สูงขึ้นอยู่เสมอ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม พบว่า พนักงานเห็นถึงความจำเป็นใน การมีกลยุทธ์นำทางเพื่อการแข่งขัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม พบว่าพนักงานมีการแบ่งปันความรู้และ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ พบว่า พนักงานสามารถ มองเห็นได้ว่าการเติบโตหรือการตกต่ำของเศรษฐกิจจะส่งผลต่อองค์การ 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ คะแนนการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ พบว่า พนักงานที่มีสถานภาพการสมรสที่ต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกันในด้านแบบแผนความคิดอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพนักงานที่มีเพศ และ ประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันในด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งพนักงานเห็นถึงความจำเป็นที่องค์การต้องมี KPI ประกอบการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ และเข้าใจเป้าหมายของหน่วยงานและความสัมพันธ์กับ KPI ในงานเป็นอย่างดี และสามารถมองเห็นถึง การเชื่อมโยงของภารกิจขององค์การกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล และด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ต้องมี การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการทำงานกับเพื่อนร่วมงานเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/302
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก270.38 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ2.36 MBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ165.78 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ91 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ164.28 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1237.78 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 2585.78 kBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3242.67 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 41.63 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5234.71 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม182.28 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก466.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.