Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/433
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวัยทองงานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลศิริราช
Other Titles: Factors affecting haelth promoting behavior of middle-aged nurses in obstetrics and gynecology faculty of medicine Siriraj Hospital
Authors: ประสาน, ไชยมหาพฤกษ์
Chaimahaphruksa, Prasan
Keywords: การส่งเสริมสุขภาพ - วิจัย
พฤติกรรมสุขภาพ - วิจัย
สตรี - สุขภาพและอนามัย
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป)
วิทยานิพนธ์
สุขภาพของผู้หญิง ; สุขภาพของพยาบาล (วิทยานิพนธ์)
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาล วัยทองงานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลศิริราช และเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวัยทองงานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จำแนกตามลักษณะ ประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวัยทอง จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความ แปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวัยทองมีความคิดเห็น โดยรวม เกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพ ทั้ง 3 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อยู่ใน ระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง มีการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง และมีอาการรุนแรง เกี่ยวกับวัยทองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับน้อย ผลการเปรียบเทียบปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวัยทองงานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จำแนกตาม ลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า พยาบาลวัยทองที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพยาบาลวัยที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของทั้ง 2 ด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ทุกรายการ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/433
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก151.38 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ77 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ114.21 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ67.79 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ218.66 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1172.31 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2636.25 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3142.23 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4766.59 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5242.7 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม158.69 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก375.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.