Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/47
Title: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ของหน่วยบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: The Satisfaction of the Customers towards the Efficiency of the Medical and Public Health Services in Thamaka District, Kanchanaburi Province
Authors: พระครูถาวรกาญจนกิตติ์ (วิชยง จิตติชัย)
Phrakhruthawornkanchanakitti (Vitchayong Jittichai)
Keywords: บริการสุขภาพ
สาธารณสุข
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อประสิทธิภาพการ ดำเนินงานของหน่วยบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) เปรียบเทียบ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในอำเภอท่ามะกา ตามตัวแปร ลักษณะส่วนบุคล และ 3) ศึกษาความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะของ ผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ใช้บริการของหน่วยบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข ในอำเภอท่ามะกา จำนวน 384 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วย บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความพึงพอใจต่อด้านการให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน และด้านการให้บริการอย่าง ก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ยที่สูงสุด ส่วนด้านการให้บริการอย่างเพียงพอมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ผลการเปรียบเทียบความ พึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความพึงพอใจ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนผู้ใช้บริการที่มีเพศ ระดับการศึกษา และ ประสบการณ์ในการใช้บริการ ต่างกัน มีความพึงพอใจ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3) ความ คิดเห็นของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับปัญหาของการบริการ เรียงตามลำดับความถี่ ได้แก่ อุปกรณ์การแพทย์มีไม่เพียงพอ ยานพาหนะที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยมีน้อย การนัดผู้ป่วยมารับบริการในวันเดียวกันหลายอาการ ส่วนข้อเสนอแนะ เรียงลำดับตามความถี่ ได้แก่ ควรนัดหมายผู้ป่วยโดยคำนึงการดำเนินชีวิตในชุมชน ควรให้ญาติมีส่วนร่วมในการ นัดหมาย และควรคิดค่าบริการต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/47
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก119.71 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ63.38 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ94.74 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ77.23 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ98.49 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1180.48 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 2671.77 kBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3189.44 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4481.5 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5269.44 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม167.62 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก14.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.