Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/526
Title: แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายสินค้า การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Motivation of the work to its staff of Ship and Cargo Operation Department Authority of Thailand Bangkok
Authors: บุญชู, เสือรุ่ง
Surrung, Boonchou
Keywords: การจูงใจในการทำงาน
แรงจูงใจใฝาสัมฤทธิ์
ความผูกพันธ์ต่อองค์กร
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายสินค้า การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายสินค้า การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานฝ่ายสินค้า การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานฝ่ายสินค้ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากจำนวน 4 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 6 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านรายได้และสวัสดิการ 2) ผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายสินค้า การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร พบว่า พนักงานที่มีอายุ สถานภาพสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในภาพรวมไม่แตกต่างกัน พนักงานที่มีตำแหน่งงานต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพนักงาน ที่มีเพศ ระดับการศึกษา อายุงาน ต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในภาพรวมแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ พนักงานที่มี ตำแหน่งงาน อายุงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน พนักงานที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีค่าเฉลี่ย ความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและ เพื่อนร่วมงาน พนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/526
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก180.45 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ56.33 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ133.79 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ73.86 kBAdobe PDFView/Open
table of content.pdfสารบัญ149.51 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1299.48 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 2884.19 kBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3265.34 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 43.12 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5469.03 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม146.55 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก552.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.