Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/575
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานก่อนเกษียณอายุของพนักงาน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
Other Titles: Factors Affecting Decision-Making to Resign Before Retirement of Employees Working at Bank of Ayudhya PCL
Authors: พิมพาภรณ์, ประสารพงษ์
Prasanpong, Pimpaporn
Keywords: การลาออก - วิจัย
การเกษียณอายุก่อนกำหนด - วิจัย
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด)
การค้นคว้าอิสระ
วิทยานิพนธ์
พนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานก่อนเกษียณอายุ ของพนักงาน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มาหาชน) และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจาก งานก่อนเกษียณอายุของพนักงาน จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงาน ธนาคารกรุงศรี อยุธยา จำกัด(มหาชน) ที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไป จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานก่อนเกษียณอายุของพนักงานในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านนโยบายและการบริหารงาน พนักงานมีการตัดสินใจ โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 รายการคือ นโยบายมุ่งเน้นให้ งานมีประสิทธิภาพมากเกินไปจนไม่คำนึงถึงผู้ปฏิบัติงานเท่าที่ควร และนโยบายและวัตถุประสงค์ในการ ดำเนินงานไม่มีความชัดเจน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ พนักงานมีการตัดสินใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกรายการ 2 อันดับแรก คือ ซึ่งพอใจในค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่ ได้รับจากการเกษียณอายุก่อนกำหนด และค่าตอบแทนที่ได้รับจากการเกษียณอายุก่อนกำหนด ทำให้นำไป ประกอบอาชีพอื่นและปลดหนี้สิน ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานก่อนเกษียณอายุ ของพนักงาน จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า พนักงานที่มีเพศ สถานภาพสมรส และอายุต่างกัน มีความ คิดเห็น ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านนโยบายและการบริหารงาน พนักงานที่เพศต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ พนักงานที่มีเพศ และสถานภาพสมรสต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ พนักงานที่มีตำแหน่ง และรายได้เฉลี่ย ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านความมั่นคงของการ ทำงาน พนักงานที่มี สถานภาพสมรส ตำแหน่ง และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/575
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก5.29 MBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ70.85 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ119.49 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ73.69 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ135.62 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1136.72 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2562.04 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3135.81 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4541.04 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5268.97 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม133.05 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก218.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.