Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/60
Title: ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระแม่มารี
Other Titles: The Result of Cooperative Learning Approach Effecting on the Learning Achievement and Problem Solving Ability in Economics of Grade 7 Students at Phra Mae Maree School
Authors: พิสมัย, แสนรักษา
Saenragsa, Pissamai
Keywords: การสอนแบบร่วมมือกัน
การเรียนรู้
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบ ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยวิธีจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระแม่มารี หน่วยการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 4) เปรียบเทียบความสามารถ ในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ แบบปกติกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องละ 30 คนรวม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัด การเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ แผนจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิด แก้ปัญหา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความ แตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาของ นักเรียนที่ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หน่วยการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสูง กว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความสามารถในการแก้ปัญหาของ นักเรียน ที่เรียนรู้โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/60
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก117.36 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ67.82 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ92.9 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ65.76 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ99.54 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1165.3 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 2502.44 kBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3184.83 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4135.05 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5149.53 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม205.26 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก18.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.