Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/648
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการตำรวจนครบาล 7
Other Titles: Factors affecting efficiency of investigation and criminal suppression of police at Metropolitan Police Bureau 7
Authors: ศักรินทร์, วิชาธรรม
Vichatham, Sakarin
Keywords: ตำรวจ,การสืบสวน,อาชญากรรม,การปฏิบัติงาน,กองบังคับการตำรวจนครบาล 7,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม ของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม ของข้าราชการตำรวจ จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการตำรวจ กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 จำนวน 144 นาย เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการตำรวจมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เฉพาะด้านอัตรากำลังพล ข้าราชการตำรวจ มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากค่ามากไปน้อยคือ ด้านผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน และด้านวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการตำรวจ จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า ข้าราชการตำรวจที่มีอายุ ประสบการณ์การทำงานฝ่ายสืบสวน ปราบปรามอาชญากรรม และอายุราชการต่างกัน มีความคิดเห็นในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้าราชการตำรวจที่มีอายุราชการต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม ด้านผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ด้านอัตรากำลังพล และด้านวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 และข้าราชการตำรวจที่มีประสบการณ์การทำงานฝ่ายสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม ด้านอัตรากำลังพล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/648
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก139.52 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ71.87 kBAdobe PDFView/Open
Abstract .pdfบทคัดย่อ113.67 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ67.75 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ91.96 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1145.62 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2164.16 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3141.33 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4554.36 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5191.16 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม122.45 kBAdobe PDFView/Open
Appendix .pdfภาคผนวก246.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.