Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/882
Title: ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Satisfaction with Social Welfare Management for the Elderly by Local Government Organizations in Thamaka District Kanchanaburi Province
Authors: ชูศักดิ์, ตันวงศ์เลิศ
Tanwonglert, Chusak
Keywords: ความพึงพอใจ,สวัสดิการ,ผู้สูงอายุ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ ภายในกลุ่มผู้สูงอายุที่รับสวัสดิการสังคมและกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม ตามตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ ระหว่างผู้สูงอายุที่รับสวัสดิการสังคมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 4) ศึกษาความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 275 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.966 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า ความพึงพอใจของทั้ง 2 กลุ่ม อยู่ในระดับมากทั้ง 7 ด้าน เพียงแต่ลำดับของค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อแต่ละด้านแตกต่างกันบ้าง เช่น ผู้สูงอายุพึงพอใจต่อด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล สูงที่สุด และต่อด้านที่พักและศูนย์บริการน้อยที่สุด ส่วนเจ้าหน้าที่พึงพอใจต่อด้านนันทนาการสูงที่สุด และต่อด้านอาชีพและรายได้น้อยที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคม ตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่อเดือน จำนวนบุตร และผู้ช่วยเหลือดูแล ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคม โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้สูงอายุที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส และสภาวะสุขภาพ ต่างกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบว่า เจ้าหน้าที่ที่มีเพศ การศึกษา และตำแหน่งหน้าที่ ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเจ้าหน้าที่ที่มีอายุ รายได้ต่อเดือน และสถานที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีความพึงพอใจ ไม่แตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ ระหว่างผู้สูงอายุกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจสูงกว่าเจ้าหน้าที่ ทั้งโดยภาพรวม และรายด้านแต่ละด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่เรียงตามลำดับความถี่สูงลงไป ได้แก่ ควรเพิ่มเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ควรส่งเสริมด้านอาชีพแก่ผู้สูงอายุ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น และเจ้าหน้าที่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุให้มากขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/882
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก154.48 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ108.66 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ178.35 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ88.8 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ328.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1277.09 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.01 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3490.9 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5404.81 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม268.3 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก555.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.