Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/886
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดกลุ่มกรุงเทพใต้ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Relationship between Change Management and Efficiency of School-Based Management of Schools under the Southern of Bangkok Group, Bangkok Metropolis
Authors: ปาริชาติ, สวัสดิ์ถึก
Sawattuek, Parichat
Keywords: การบริหารโรงเรียน,โรงเรียน,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียน 3) เปรียบเทียบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหาร การเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิภาพ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดกลุ่มกรุงเทพใต้ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนในสังกัดกลุ่มกรุงเทพใต้ กรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน จาก 31 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 11 โรงเรียน ขนาดกลาง 10 โรงเรียน และขนาดใหญ่ 10 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อผู้บริหารดังนี้ 1) ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดกลุ่มกรุงเทพใต้ กรุงเทพมหานคร มีการบริหาร การเปลี่ยนแปลงรวมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเสริมสร้างพลัง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการนำทาง ด้านภาวะผู้นำ และด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ตามลำดับ 2) ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดกลุ่มกรุงเทพใต้ กรุงเทพมหานคร มีประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารงานงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป ตามลำดับ 3) ครูผู้สอนในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีการบริหาร การเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไม่แตกต่างกัน 4) ผู้บริหารโรงเรียนมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/886
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก232.9 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ90.7 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ216.57 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ163.7 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ391.69 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1493.5 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 23.42 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3700.16 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.5 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5663.52 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม369.27 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.