Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/892
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Relationship Between School Administration and Work Motivation of Teachers in Group 1 Schools, Bangkok Primary Educational Service Area Office
Authors: พิมพรรณ, หล่ำน้อย
Lumnoi, Phimphan
Keywords: การบริหารโรงเรียน,ความสัมพันธ์องค์กร,แรงจูงใจ,ครู,การปฏิบัติงาน,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในกลุ่มโรงเรียน ที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย จากมากมาหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคลากร ด้านการบริหารงานวิชาการ และด้านการบริหารทั่วไป 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย จากมากมาหาน้อย ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.801) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ .01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/892
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก156.05 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ54.05 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ140.75 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ51.08 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ155.51 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1227.93 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2751.68 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3184.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4469.29 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5238 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม166.31 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.