Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1712
Title: การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Developing Skills in Using Communicative English of Local Government Organization Leaders in Samutprakan province
Authors: จันทนา, อินทฉิม
Inthachim, Chanthana
Keywords: การสื่อสาร
ภาษาอังกฤษ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และศึกษาการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมเน้นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบ สัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการศึกษามีดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ความสามารถด้านไวยากรณ์ ด้านภาษาสังคม ด้านการใช้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อความหมายด้านการพูด และการเขียน และด้านการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย ส่วนใหญ่มีความสามารถอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความรู้เกี่ยวการใช้คำศัพท์ การใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับบุคคล ความรู้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประโยค และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ตามลำดับ เมื่อพิจารณาข้อมูลส่วนบุคคล ด้านความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวม พบว่า ด้านเพศมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า มีความต้องการพัฒนาทักษะด้านการฟัง ด้านการพูด ด้านการอ่าน และการเขียน ส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะพัฒนาอยู่ในระดับมาก มีความต้องการด้านการฟังเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านคำศัพท์ เช่น รู้ศัพท์น้อยทำให้ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้ คิดคำศัพท์ไม่ออกขณะพูด ไม่รู้ความหมายของคำศัพท์ และไม่สามารถเลือกใช้คำศัพท์ได้อย่างเหมาะสม กับสถานการณ์ตามลำดับ เมื่อพิจารณาข้อมูลส่วนบุคคล ด้านความต้องการการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยรวม พบว่า ด้านเพศไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ในแต่ละทักษะมีความต้องการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ ในการพัฒนาตนเองและองค์การ ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1712
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก68.75 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ120.21 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ60.04 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ122.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1271.69 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.02 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3284.42 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.13 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5225.13 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม284.02 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก279.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.