Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/304
Title: พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Consuming Behaviors Toward Fresh Roasted Coffee of Consumers in Muang District, Pathumthani Province
Authors: ธำมรงค์, อินทเสวก
Inthasawek, Thumrong
Keywords: กาแฟ - วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค - วิจัย
เครื่องดื่ม - วิจัย
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป)
ภาคนิพนธ์
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคเครื่องดื่ม กาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟสด ของผู้บริโภค จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อ การบริโภค เครื่องดื่มกาแฟสดของผู้บริโภค จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ การ ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟสดของผู้บริโภค จำนวน 11 รายการ มีค่าร้อยละ อยู่ในระดับสูง จำนวน 2 รายการ คือ กาแฟสดรสชาติที่ชอบดื่มมากที่สุด คือ เอสเพรสโซ่ ร้อยละ 77.78 และ ผู้บริโภคมักเลือกดื่มกาแฟสดที่มีตราผลิตภัณฑ์ (แบรนด์ของร้าน) ที่รู้จัก ร้อยละ 70.94 ปัจจัยทางการตลาดที่มีผล ต่อการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟสด ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการ บริโภคเครื่องดื่มกาแฟสดของผู้บริโภค จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟสด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟ สดของผู้บริโภค จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และเพศ ต่างกัน มีการตัดสินใจ ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกัน มีการตัดสินใจโดยรวม ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้บริโภคที่มีอาชีพต่างกัน มีการตัดสินใจ โดยรวม ด้านสถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อ เดือนต่างกัน มีการตัดสินใจ โดยรวม ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริม การตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/304
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก145.29 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ72.8 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ115.24 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ70.72 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ210.62 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1168.82 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 2511.04 kBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3217.22 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4670.16 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5257.79 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม105.94 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก277.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.