Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/640
Title: สภาพการดำเนินชีวิต ปัจจัยการดำเนินชีวิต และทัศนคติต่อการดำเนินชีวิตของประชากรในเขตเมืองกับเขตชานเมือง : กรณีศึกษา เขตคลองเตย และเขตพุทธมณฑล กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Way of Life, Factors and Attitude Towards Way of Life of Urban and Suburban People : A Case Study of Klong Toey and Bhuddamontol Districts Bangkok Metropolitan
Authors: รุจิราภรณ์, ชินวงศ์วัฒนา
Chinawongwatana, Rujiraporn
Keywords: การดำเนินชีวิต - วิจัย
ชุมชนเมือง - วิจัย
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat University.Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิต ปัจจัยการดำเนินชีวิต และทัศนคติการดำเนินชีวิตของ ประชาชน ในเขตเมืองกับเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มประชาชนใน เขตเมืองกับเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้มี 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือประชาชน ที่ทำงานหรือพักอาศัยในเขตเมือง เขตคลองเตย จำนวน 120 คน กลุ่มที่ 2 คือประชาชนที่ทำงานหรือพักอาศัยในเขต ชานเมือง เขตพุทธมณฑล จำนวน120 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลข คณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนเขตเมืองและชานเมือง เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ในด้านสภาพการดำเนินชีวิต ปัจจัยการดำเนินชีวิต และทัศนคติต่อการดำเนินชีวิต ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (2) เกี่ยวกับสภาพการดำเนินชีวิต จำแนกเป็นรายข้อ ประชาชนในเขตเมืองและชานเมือง มีความเห็นด้วยสูงสุดใน เรื่อง การใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่สถานที่ทำงาน เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้องทำงานมากขึ้น เพื่อนร่วมงานเป็นส่วน หนึ่งที่ทำให้อยากมาทำงาน และความพอใจของสภาพแวดล้อมภายในสถานที่ทำงาน (3) เกี่ยวกับปัจจัยการดำเนิน ชีวิต จำแนกเป็นรายข้อ ประชาชนในเขตเมืองและชานเมือง มีความเห็นในระดับสูงสุด เรื่องการเดินทางไปทำงาน สะดวกใช้รถสาธารณะมากกว่ารถส่วนตัว การศึกษาทำให้มีโอกาสเลือกที่จะประกอบอาชีพ และแนวความคิดเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักดำเนินชีวิตที่ดี (4) เกี่ยวกับทัศนคติการดำเนินชีวิต จำแนกเป็นรายข้อ ประชาชนในเขต เมืองมีความเห็นในระดับสูงสุดคือ เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ผู้หญิงส่วนใหญ่มีคู่ครอง โดยไม่ต้องการความผูกมัด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานถือเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับวัยรุ่น และเห็นด้วยกับการ ดำเนินชีวิตแบบอิสระโดยไม่มีคู่ครอง (5) ประชาชนในเขตชานเมือง มีความเห็นในระดับสูงสุด คือ การปฏิบัติตาม คำสั่งสอนของศาสนาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การดำเนินชีวิตปกติ เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลง ความคล่องตัวในการทำงานทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ต้องการมีพันธะ (6) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในเขตเมือง และในเขตชานเมือง เกี่ยวกับการ ดำเนินชีวิต ในด้านต่างๆ ได้แก่ สภาพการดำเนินชีวิต ปัจจัยการดำเนินชีวิต และทัศนคติต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งมีผลการ วิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม พบว่าทั้ง 3 ด้าน ความคิดเห็นของประชาชน ในสังคมเมืองและชานเมือง มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/640
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก122.71 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ74.07 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ110.18 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ87.18 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ159 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1140.46 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2915.9 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3135.49 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4175.23 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5233.87 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม117.01 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก286.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.