Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1009
Title: การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
Other Titles: Administration of Student Support System of the Elementary Schools under Bangkok Elementary Educational Service Area Office
Authors: บุญยิ่ง, พรมจารีย์
Phomjaree, Boonying
Keywords: การบริหาร,ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน,โรงเรียนประถมศึกษา,
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่ปรึกษา และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่ปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 287 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่ปรึกษา ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายด้านทั้ง 6 ด้าน พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้าน การส่งเสริมพัฒนานักเรียน และด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่ปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำแนกตามเพศ (เพศชาย และเพศหญิง) ในภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามอายุ ในภาพรวม พบว่า ผู้บริหารและครูที่ปรึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน และด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้บริหารและครูที่ปรึกษาที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี และ 35-45 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้บริหารและครูที่ปรึกษาที่มีอายุมากว่า 45 ปีขึ้นไป ส่วนด้านการป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน ผู้บริหารและครูที่ปรึกษาที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้บริหารและครูที่ปรึกษาที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป และด้านการส่งต่อนักเรียนผู้บริหารและครูที่ปรึกษาที่มีอายุ 35-45 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้บริหารและครูที่ปรึกษาที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป จำแนกตามระดับการศึกษาในภาพรวม พบว่า ผู้บริหารและครูที่ปรึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ผู้ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีมีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก และผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาโทมีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน ด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีมีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการส่งต่อนักเรียน ผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาโท และผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาโทมีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีระดับการศึกษาปริญญาเอก จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานในภาพรวม พบว่า ผู้บริหารและครูที่ปรึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 10 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 11-20 ปี และผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มากกว่า 20 ปีขึ้นไป ด้านการป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 10 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป และด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 10 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 11-20 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1009
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก137.1 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ47.48 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ114.26 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ76.82 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ140.69 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1201.09 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2358.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3114.33 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4608.66 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5159.36 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม84.19 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก585.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.