Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1210
Title: ความมั่นคงในชีวิตของพนักงานโรงแรมระดับปฏิบัติการ
Other Titles: Life Security of Hotel Employees
Authors: วิสิทธิศักดิ์, ฤทธิรงค์
Rittirong, Wisittisak
Keywords: การค้นคว้าอิสระ
ความมั่นคงในชีวิต
พนักงานโรงแรม
คุณภาพชีวิต
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความมั่นคงในชีวิตในปัจจุบันและการคาดหมายเกี่ยวกับ ความมั่นคงในชีวิตหลังเกษียณของพนักงานโรงแรมระดับปฏิบัติการแห่งหนึ่ง การศึกษานี้ใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ วิธีเชิงปริมาณได้ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 55 คน (คิดเป็นร้อยละ 25 ของพนักงานโรงแรมระดับปฏิบัติการทั้งหมด 220 คน) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ในส่วนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เฉพาะพนักงานโรงแรมระดับปฏิบัติการที่ผ่านงานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับประเด็นสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยภายในบริษัทที่มีผลต่อความมั่นคงในชีวิตของพนักงาน ทั้งนี้ประกอบกับการตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสาร สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้แนวคิด“ความรู้สึกมั่นคงในชีวิต” ผลการวิจัยพบว่า จากค่าคะแนน 10 ระดับ จาก 1 ถึง 10 โดยระบุเกณฑ์คะแนนจากระดับ 1-6 อยู่ในช่วงรู้สึกมั่นคงในชีวิตน้อย และระดับคะแนนจาก 7-10 อยู่ในช่วงรู้สึกมั่นคงในชีวิตมากนั้น พนักงานโรงแรมระดับปฏิบัติการรับรู้ความมั่นคงในชีวิตในปัจจุบันในระดับค่อนไปทางมาก ผลคะแนนเฉลี่ย 6.41 และพนักงานโรงแรมระดับปฏิบัติการคาดหมายเกี่ยวกับความมั่นคงในชีวิตหลังเกษียณ ในระดับมาก ผลคะแนนเฉลี่ย 7.83 การที่ผลคะแนนเฉลี่ยความคาดหมายเกี่ยวกับความมั่นคงในชีวิตหลังเกษียณสูงกว่าผลคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความมั่นคงในชีวิตในปัจจุบัน เป็นเพราะพนักงานโรงแรมระดับปฏิบัติการเห็นว่า เมื่อเกษียณจะสามารถหมดภาระหนี้สิน และมีเงินเก็บออมเพียงพอ การที่พนักงานโรงแรมระดับปฏิบัติการซึ่งมีรายได้ (เงินเดือนและส่วนที่ได้จากค่าบริการ) นับตั้งแต่แรกเข้าจนถึงเกษียณไม่แตกต่างกันนัก เฉลี่ยระหว่าง 20,000-23,000 บาทต่อเดือน (ณ ค่าเงินปัจจุบัน) มีความคาดหมายเกี่ยวกับความมั่นคงในชีวิตหลังเกษียณผลคะแนนเฉลี่ยในระดับมาก เป็นเพราะการคิดเปรียบเทียบสถานะตนกับพนักงานระดับปฏิบัติการในกิจการอื่นซึ่งได้รับรายได้และสวัสดิการน้อยกว่างานโรงแรม สำหรับประเด็นสภาพแวดล้อมภายนอกบริษัทนอกเหนือจากการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการโรงแรมแล้ว สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงในชีวิตของพนักงาน จากการสนทนากลุ่ม พบว่า ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2540-2560) มีเหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงในชีวิตของพนักงาน 6 เหตุการณ์ (เฉลี่ย 3.3 ปีมีเหตุการณ์สำคัญ 1 ครั้ง) ได้แก่ วิกฤตฟองสบู่ พ.ศ. 2540 วิกฤตโรคซาร์ส พ.ศ. 2546 วิกฤตสินเชื่อซับไพร์ม พ.ศ. 2550-2551 วิกฤตทางการเมืองการชุมนุมของคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 วิกฤตมหาอุทกภัย พ.ศ.2555 วิกฤตทางการเมืองการ “ปิดกรุงเทพฯ” ของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) พ.ศ. 2557 สำหรับปัจจัยภายในบริษัทที่กระทบต่อความมั่นคงในชีวิตของพนักงาน ที่สำคัญคือการพัฒนาประสิทธิภาพด้วยการลดต้นทุนด้วยการลดจำนวน พนักงานลง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1210
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก136.67 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ47.76 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ83.79 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ40.78 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ84.51 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1105.42 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2167.01 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3129.7 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4164.2 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 580.25 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม91.78 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก654.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.