Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/151
Title: ความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคม ASEAN ของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต 10 ที่ผ่านการประเมินการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Other Titles: Readiness of Secondary Schools Approaching ASEAN Community under Secondary Education Service Area Office 10 Those Passed Sufficiency Economy Philosophy Administration Evaluation
Authors: ยุวธิดา, เมธาวัชรวงศ์
Methawatcharawong, Yuwatida
Keywords: ประชาคมอาเซียน
Issue Date: 2015
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคม ASEAN ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเขต 10 ที่ผ่านการประเมินการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคม ASEAN จำแนกตาม เพศ อายุ และวุฒิการศึกษาของผู้บริหารและครู 3) ศึกษาข้อเสนอแนะที่มีต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคม ASEAN กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน 217 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำแนกเป็น 4 ด้าน ด้านที่ 1 ด้านความรู้ ด้านที่ 2 ทักษะ/กระบวนการ ด้านที่ 3 เจตคติ และด้านที่ 4 การบริหารและการจัดการศึกษาในสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคม ASEAN ของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต 10 ที่ผ่านการประเมินการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคม ASEAN ด้านทักษะ/กระบวนการ ด้านเจตคติ และด้านการบริหารและการจัดการศึกษาในสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคม ASEAN พบว่า มีระดับการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคม ASEAN จำแนกตามเพศชายและเพศหญิง ของผู้บริหารและครู พบว่าโดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศหญิงมีระดับการปฏิบัติสูงกว่าเพศชาย และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคม ASEAN ด้านทักษะ/กระบวนการ และด้านการบริหารและการจัดการศึกษาในสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคม ASEAN มีระดับการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านเจตคติ พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามอายุต่ำกว่า 40 ปี และสูงกว่า 40 ปีขึ้นไป พบว่า มีระดับการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี พบว่า โดยรวมมีระดับการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคม ASEAN มีระดับการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ มีระดับการปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3 ข้อเสนอแนะควรจัดทำเอกสาร วารสาร และเว็บไซต์สำหรับการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคม ASEAN จัดอบรมหรือจัดค่ายภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน ตลอดจนจัดศึกษาดูงาน และควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทำวิจัยและหลักสูตร ASEAN
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/151
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก115.85 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ68.73 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ100.62 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ74.87 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ103.59 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1203.62 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 21.02 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3149.47 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4512.88 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5131.57 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม130.71 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก373.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.