Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/173
Title: การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมภายใต้โครงสร้างซีท ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
Other Titles: Educational Administrations of the School of the Special Needs Children Having Inclusive Education of SEAT Framework under the Supervision of Bangkok Primary Educational Service Area Office
Authors: สมยศ, พวงเกตุแก้ว
Phuangketkaew, Somyos
Keywords: การศึกษา - การบริหาร
การศึกษา - การจัดการ
Issue Date: 2015
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วม ภายใต้โครงสร้างซีท ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วม ภายใต้โครงสร้างซีท ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามตำแหน่ง ระยะเวลาในการบริหารหรือสอนเด็กพิเศษ และประสบการณ์ฝึกอบรมด้านการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ของโรงเรียนที่มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมภายใต้โครงสร้างซีทในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 30 คน และครูผู้สอน จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน เครืองมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของตัวแปรสองกลุ่ม โดยใช้ค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารและผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมภายใต้โครงสร้างซีททั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านวัสดุ สื่อ เครื่องมือ ผู้บริหารมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามตำแหน่ง และจำแนกตามประสบการณ์ การฝึกอบรมด้านการศึกษษพิเศษ พบว่าผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามระยะเวลาในการบริหาร หรือระยะเวลาในการสอนเด็กพิเศษ พบว่าภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านสภาพแวดล้อม และด้านเครื่องมือ ผู้บริหารสถานสึกษาและครุผู้สอน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/173
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title1.pdfปก335.32 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ66.54 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ137.48 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ75.15 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ109.05 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1179.28 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 2597.42 kBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3152.18 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4451.42 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5201.87 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม117 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.