Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/178
Title: วัฒนธรรมองค์กรการที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์การของสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
Other Titles: The Corporate Culture Perception Affecting to Organizational Obligation of The Institute of advanced Military Studies
Authors: อัจฉราวรรณ, สายวิจิตร
Saivijit, Atcharawan
Keywords: ทหารบก
พฤติกรรมองค์การ - วิจัย
ความพอใจในการทำงาน - วิจัย
วัฒนธรรมองค์การ - วิจัย
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป)
วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2008
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office Of Academic Resources And Information Technology
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์การของข้าราชการสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง 2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์การของข้าราชการสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง ข้อมูลที่ใช้ได้มาจากการเก็บตัวตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยใช้ขนาดตัวอย่างจำนวน 196 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการเปรียบเทียบพหุคูณ เพื่อทดสอบหาความต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของ Turkey ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูงอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้สนความเหลื่อมล้ำของอำนาจด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนด้านความเป็นกลุ่มนิยม และด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ซึ่งมีผลต่อความผูกพันกับองค์การอยู่ในระดับมาก จำนวน 6 หัวข้อคือ 1. ท่านมีความตั้งใจและมีความเต็มใจอย่างมากที่จะทุ่มเทความรู้ ความสารถของท่านอย่างเต็มที่เพื่อให้งานของหน่วยประสบความสำเร็จ 2. ท่านจะไม่หยุดงานหรือลาเมื่อไม่มีความจำเป็น 3. ท่านเชื่อมั่นและยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติตามเป้าหมายที่หน่วยงานกำหนด 4. ท่านเต็มใจเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อมาปฏิบัติงาน 5. ท่านปรารถนาที่จะทำงานในหน่วยนี้ตลอดไป 6. ท่านรู้สึกว่าการปฏิบัติงานเพื่อองค์การมีความสำคัญมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งมีผลต่อความผูกพันกับองค์การอยู่ในระดับปานกลางคือ หัวข้อท่านทำงานในที่ทำงานไม่เสร็จท่านได้นำงานกลับไปทำต่อที่บ้าน 2) ข้อมูลทั่วไปที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์การอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่า สถานภาพการสมรสที่แตกต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ ด้สนความเหลื่อมล้ำของอำนาจแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระดับชั้นยศทางทหราที่แตกต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ ด้านการมีอิสระในการทำงาน และด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงานแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์การที่แตกต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ ด้านความเป็นกลุ่มนิยม ด้านการมีอิสระในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ ระดับการศึกษา ระดับชั้นยศทางทหาร และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับความผูกพันกับองค์การแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/178
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก128.19 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ72.21 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ107.05 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ66.27 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents .pdfสารบัญ312.03 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่1164.32 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่2673.08 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่3135.73 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4908.87 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5497.31 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม151.26 kBAdobe PDFView/Open
Appendix .pdfภาคผนวก285.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.