Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/229
Title: คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสตรีในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Quality of Work Life of Woman Workers in Industrial Estates, Samutprakarn Province
Authors: จันทัปพา, วิเศษโวหาร
Wisetwoharn, Chantappa
Keywords: วิทยานิพนธ์
ความพอใจในการทำงาน - วิจัย
คุณภาพชีวิตการทำงาน - วิจัย
พนักงาน - วิจัย
พนักงาน - ความพอใจในการทำงาน
พนักงานสตรีในนิคมอุสาหกรรม
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์วิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสตรีใน นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสตรีในนิคม อุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะของพนักงานสตรีใน นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานสตรีในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัด สมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์ แอลฟ่า เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และ ค่าเอฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พนักงานสตรีในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ มีคุณภาพชีวิต การทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พนักงานสตรีมีระดับคุณภาพชีวิต การทำงานอยู่ในระดับ ปานกลาง ทั้ง 7 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาค่าเฉลี่ยน้อย คือ ด้านสภาพการ ทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุล ระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านประชาธิปไตยภายในองค์กร ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถ ด้าน ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 2) จากการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิต การทำงานของพนักงานสตรีในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ตามตัวแปรบุคคล พบว่า พนักงานสตรีที่ มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ในการทำงาน และที่ตั้งของสถานที่ ทำงานต่างกัน มีคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พนักงานสตรีที่มีระดับ การศึกษาสูงสุดต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านความ สมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว พนักงานสตรีที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน และด้านประชาธิปไตยภายใน องค์กร พนักงานสตรีที่มีที่ตั้งของสถานที่ทำงานต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ และด้านความก้าวหน้าและความมั่นคง ในงาน 3) พนักงานสตรีในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 31.5 ของกลุ่ม ตัวอย่าง เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานในด้านค่าตอบแทน ที่เพียงพอและยุติธรรมเป็นความถี่สูงสุด (n = 85) รองลงมาคือด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน (n = 60)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/229
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก119.44 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ73.71 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ111.07 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ72.38 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ158.02 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1168.91 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2551.05 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3170 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4547.99 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5190.49 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม139.16 kBAdobe PDFView/Open
Appendix .pdfภาคผนวก353.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.