Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/33
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารกับประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
Other Titles: The Relationship between Transformational Leadership of Administrators and the Effectiveness of Primary School Administration in Samut Prakarn Primary Education Area 2
Authors: นราวดี, โพธิ์สุข
Phosuk, Narawadee
Keywords: การประเมิน - ผู้บริหารการศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา
ผู้บริหาร - วิจัย
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของการ บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู 3) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศ และวุฒิการศึกษา 4) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 53 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที และค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1)ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ระดับประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านความสามารถใน การพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศ ในภาพรวม พบว่า ความคิดเห็นของครูเพศชายและครูเพศ หญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศ ในภาพรวม พบว่า ความคิดเห็นของครูเพศชายและครูเพศหญิง ไม่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตาม วุฒิการศึกษาในภาพรวม พบว่า ความคิดเห็นของครูที่มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรีและครูที่มีวุฒิปริญญาตรี แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ในภาพรวม พบว่า ความคิดเห็นของครูที่มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรีและครูที่มีวุฒิปริญญาตรีไม่ แตกต่างกัน และ 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตาม ความคิดเห็นของครู ในภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/33
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก114.91 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ66.27 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ98.9 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ74.49 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ121.71 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1219.09 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 2600.63 kBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3161.38 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4485.04 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5161.52 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม179.36 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก369.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.