Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/350
Title: วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารออมสิน ฝ่ายกิจการนครหลวง 3 เขตศิริราช
Other Titles: Organizational Culture Affecting of Organization Commitment Employee's the Government savings bank, regional 3 Siriraj zonal branch
Authors: กัญญา, รอดพิทักษ์
Rotpitak, Kanya
Keywords: พฤติกรรมองค์การ - วิจัย
ความพอใจในการทำงาน - วิจัย
วัฒนธรรมองค์การ - วิจัย
Issue Date: 2008
Publisher: Dhonburi Rajabhat University.Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ พร้อมทั้งเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารออมสิน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันธ์ต่อองค์การจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน อายุการทำวานและตำแหน่งงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้นำมาประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวยทางเดียว ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะใช้การทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีของ Tukey(Tukey's HSD Test) การวิเคราะพ์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1)พนักงานมีระดับความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์การโดยรวมอยุ่ในระดับมาก (2)พนักงานมีระดับความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4)พนักงานที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การด้านความปรารถนาที่จะคงความเป็นสมาชิกในองค์การของตนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5)วัฒนธรรมองค์การด้านระบบการให้รางวัลและผลตอบแทนมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การด้านมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การโดยรวมและด้านความเชื่อมั่นในการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างมากที่จะปฎิบัติงานเพื่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (6)วัฒนธรรมองค์การด้านการทำงานเป็นทีม มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ด้านความปรารถนาที่จะคงความเป็นสมาชิกในองค์การของตน ด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างมากที่จะปฎิบัติงานเพื่อองค์การ ความผูกพันต่อองค์การโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านความเชื่อนั่นอย่างแรงกล้าในการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (7)วัฒนธรรมองค์การด้านความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ด้านความเชื่อมั่นในการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ ด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างมากที่จะปฎิบัติเพื่อองค์การ และความผูกพันต่อองค์การโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/350
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก154.66 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ77.39 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ121.45 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ69.58 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ304.92 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1177.32 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2191.23 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 322.03 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4742.58 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5451.77 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม176.48 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก294.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.