Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/528
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้
Other Titles: Factors Affecting Administrative Behaviors in the Aspect of the Relationship Between Schools and Communities in Bangkok Metropolitan Schools of South Krungthon Group
Authors: บุษบา, แดงหวาน
Darngwan, Busaba
Keywords: นโยบายการศึกษา
ชุมชนกับโรงเรียน
การศึกษา - การบริหาร
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ด้านชุมชน และด้านโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ 2) ระดับพฤติกรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ด้านชุมชน และด้านโรงเรียน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ เมื่อรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดลงมา คือ ปัจจัยด้านโรงเรียน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านชุมชน 2) พฤติกรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ เมื่อรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดลงมา คือ การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่นในท้องถิ่น การประชาสัมพันธ์โรงเรียน การร่วมกิจกรรมของชุมชน และการให้บริการแก่ชุมชน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ เมื่อรวมทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมมีค่าสัมประสิทธิ์ ถดถอยสูงที่สุดรองลงมาคือ ปัจจัยด้านชุมชน และด้านโรงเรียน ตามลำดับ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/528
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก422.81 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ50.48 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ110.53 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ57.13 kBAdobe PDFView/Open
table of content.pdfสารบัญ191.1 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1262.15 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 21.23 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3204.02 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4829.82 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5216.36 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม188.07 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.