Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/690
Title: ผลการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการการผลิตและการส่งเสริมการตลาด ของบริษัท อันชิ่ง อินดัสทรี จำกัด
Other Titles: Result of Implementing the Information Systems in Product Management and Marketing Promotions of Unching Industry Corporation
Authors: ศุภากร, รัชพงศ์
Ratchapong, Supakorn
Keywords: ระบบสารสนเทศ,การส่งเสริมการตลาด,การผลิต,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการการผลิตและการ ส่งเสริมการตลาด ของบริษัท อันชิ่ง อินดัสทรี จำกัด และเพื่อเปรียบเทียบผลการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการ จัดการการผลิตและการส่งเสริมการตลาดของพนักงาน จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า ผลการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการการผลิตและการส่งเสริมการตลาด ของบริษัท อันชิ่ง อินดัสทรี จำกัด ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็น โดยรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ นโยบายขององค์กร ภาวะเศรษฐกิจ และการ ส่งเสริมการตลาด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านนโยบายขององค์กร อยู่ในระดับมาก ทุกรายการ 2 อันดับแรก คือ การจัดตารางการผลิตและผลิตให้ทันเวลา และการจัดเก็บและควบคุมสินค้าคงคลัง ด้านภาวะเศรษฐกิจ อยู่ใน ระดับมาก ทุกรายการ 2 อันดับแรก คือ นำระบบ ESS มาใช้เพื่อช่วยให้ผู้บริหารรับทราบข้อมูลที่สำคัญจาก ภายนอก เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ความต้องการตลาด และความต้องการของลูกค้า และผู้บริหารสามารถตัดสินใจ และ กำหนดการผลิตสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้ ด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก ทุก รายการ 2 อันดับแรก คือ หาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการใหม่ ๆ ในสื่ออินเตอร์เน็ต และแลกเปลี่ยนข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผลการเปรียบเทียบผลการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการ การผลิตและการส่งเสริมการตลาดของพนักงาน จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีระดับ การศึกษา และสายงานที่ปฏิบัติต่างกัน มีความคิดเห็น ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พนักงานที่มีสายงานที่ปฏิบัติต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวม ด้านภาวะ เศรษฐกิจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/690
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก144.95 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ71.6 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ2.6 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ72.28 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ157.6 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1183.77 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2463.42 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3131.56 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4401.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5176.33 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม125.33 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก265 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.