Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/788
Title: การบริหารความปลอดภัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการทำกิจกรรม CCCF ของบริษัท โตไก อิสเทิร์น รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: Management of Safety Affecting the Success in CCCF Activities of Tokai Eastern Rubber( Thailand),Ltd.
Authors: สมร, หาญเวช
Hanvech, Samorn
Keywords: ความปลอดภัย,กิจกรรม CCCF,การบริหารความปลอดภัย,อาชีวอนามัย,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารความปลอดภัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการทำ กิจกรรม CCCF บริษัทโตไก อิสเทิร์น รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารความปลอดภัย ที่มีผลต่อความสำเร็จของการทำกิจกรรม CCCF ของพนักงาน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า การบริหารความปลอดภัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการทำกิจกรรม CCCF ของพนักงาน ในภาพรวม คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พนักงานมีความคิดเห็น โดยรวม อยู่ใน ระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ นโยบายและเป้าหมายขององค์กร การกำหนดบุคลากรและบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ และการสื่อสารและการดำเนินงาน ผลการเปรียบเทียบการบริหารความปลอดภัยที่มีผลต่อ ความสำเร็จของการทำกิจกรรม CCCF ของพนักงาน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า การบริหารความปลอดภัย ที่มีผลต่อความสำเร็จของการทำกิจกรรม CCCF ของพนักงานที่มีระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งงาน และอายุต่างกัน ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า พนักงานที่มีระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอายุต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวม ด้าน นโยบายและเป้าหมายขององค์กร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ พนักงานที่ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งงาน อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวมด้านการกำหนดบุคลากร และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ และ พนักงานที่มีระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งงาน อายุ ประสบการณ์ในการทำกิจกรรม CCCF และ แผนกที่สังกัดต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวม ด้านการสื่อสารและการดำเนินงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/788
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก152.54 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ72.21 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ116.7 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ68.92 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ209.8 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1150.53 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 21.12 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3166 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4784.39 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5223.65 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม120.37 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก251.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.