Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/793
Title: ความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Readiness of External Quality Assessment for Educational Institutions under Bangkok Office of Non-Formal and Informal Education
Authors: สุวรรณี, รัตนรอด
Rattanarod, Suwannee
Keywords: การศึกษานอกระบบ,การประเมินคุณภาพภายนอก,สถานศึกษา,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานครในภาพรวมเปรียบเทียบระดับความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ตามสถานภาพของบุคลากร จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จำนวน 236 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่าระดับความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดลง 3 อันดับ คือ มาตรฐานด้านปัจจัย มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้านผู้เรียน บุคลากรเพศชายและหญิง มีความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ บุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีลงมาและสูงกว่าปริญญาตรี มีความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ บุคลากรที่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป และต่ำกว่า 5 ปี มีความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มาตรฐานด้านกระบวนการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมาตรฐานด้านปัจจัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/793
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก144.89 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ73.51 kBAdobe PDFView/Open
Abstract .pdfบทคัดย่อ122.08 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ70.52 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ195.01 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1243.74 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2787.58 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3216.45 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4708 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5350.86 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม165.31 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.