Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/808
Title: ส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคาลอนคู่ตราเพชรของผู้บริโภค อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Marketing Mix in Selecting Pair-waved tiles of Diamond Brand by Consumers Living in Amphoe Muang, Saraburi Province
Authors: เสริมศักดิ์, ยั่งยืน
Yungyuen, Sermsak
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค,กระเบื้องหลังคาลอนคู่,ส่วนประสมทางการตลาด,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคาลอนคู่ ตราเพชรของผู้บริโภค อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และเพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคาลอนคู่ ตราเพชรของผู้บริโภค จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ใช้กระเบื้องหลังคาลอนคู่ ตราเพชร จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคาลอนคู่ ตราเพชรของผู้บริโภค ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย และราคา เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก ทุกรายการ 2 อันดับแรก คือ สินค้ามีสีสด สีสม่ำเสมอ เงางามและมีตราสินค้าที่เชื่อถือได้ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมาก ทุกรายการ 2 อันดับแรก คือ ตัวแทนจำหน่ายมีทำเลที่ตั้งที่ดีสามารถหาได้ง่าย ติดต่อได้สะดวก และมีพนักงานขายคอยให้บริการให้คำปรึกษาก่อนมีการตัดสินใจ ด้านการส่งเสริมการขาย อยู่ในระดับมาก ทุกรายการ 2 อันดับแรก คือ มีการบริการก่อนและหลังการขาย และมีการโฆษณาด้วยสื่อต่าง ๆ และด้านราคา อยู่ในระดับมาก ทุกรายการ คือ สินค้ามีราคาเหมาะสมกับคุณภาพ และสินค้ามีการจัดรายการพิเศษเสมอ ผลการการเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคาลอนคู่ ตราเพชรของผู้บริโภค จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์พบว่า ผู้บริโภคที่มี อายุต่างกัน มีความคิดเห็น ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริโภคที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวม ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้บริโภคที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวม ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/808
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก147.32 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ72.13 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ108.65 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ68.78 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ136.06 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1159.13 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 276.32 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3137.54 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4354.67 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5184.18 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม116.71 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก273.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.