Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1912
Title: อิทธิพลของรูปแบบการฝึกอบรม สภาพแวดล้อม และวิธีการประชาสัมพันธ์ ที่มีต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรระดับปฏิบัติการ บริษัท มิลลิเมด จำกัด
Other Titles: Influence of Training Style, Environment and Public Relations Methods on Motivation for Participating in Operational Personnel Training Program of Millimed Co., Ltd
Authors: ซิ้มสกุล, พรชัย
Simsakul, Pornchai
Keywords: แรงจูงใจ
การฝึกอบรม
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2022
Publisher: Dhonburi Rajabhat University
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรระดับปฏิบัติการบริษัท มิลลิเมด จำกัด และ 2) วิเคราะห์อิทธิพลของรูปแบบการฝึกอบรม สภาพแวดล้อม และวิธีการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรระดับปฏิบัติการ บริษัท มิลลิเมด จำกัด โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างจากพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท มิลลิเมด จำกัด ที่มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป จำนวน 233 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ระดับแรงจูงใจด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรที่มีต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1) แรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรระดับปฏิบัติการ บริษัท มิลลิเมด จำกัด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยแรงจูงใจระหว่างการฝึกอบรม และแรงจูงใจหลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแรงจูงใจก่อนการเข้าร่วมฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก และ 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในภาพรวม ได้แก่ การติดตามผล การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เนื้อหาฝึกอบรม โอกาสในการใช้ความรู้ และวิธีการประชาสัมพันธ์ สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรในภาพรวมได้ร้อยละ 52.7 (R2 = .527) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจก่อนการฝึกอบรม ได้แก่ วิธีการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร และการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา สามารถพยากรณ์แรงจูงใจก่อนการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรได้ร้อยละ 43.1 (R2 = .431) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจระหว่างการฝึกอบรม ได้แก่ การติดตามผล การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และเนื้อหาฝึกอบรม สามารถพยากรณ์แรงจูงใจระหว่างการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรได้ร้อยละ 35.4 (R2 = .354) และตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจหลังการฝึกอบรม ได้แก่ การติดตามผล เนื้อหาฝึกอบรม โอกาสในการใช้ความรู้ และการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา สามารถพยากรณ์แรงจูงใจหลังการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากร ได้ร้อยละ 48.4 (R2 = .484) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบเนื้อหาการฝึกอบรม การสร้างสภาพแวดล้อมของการฝึกอบรม และการกำหนดวิธีการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรต่อไป
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1912
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก137.96 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ47.33 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ103.98 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ46.01 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ140.44 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1192.97 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2755.04 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3573.27 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4397.31 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5136.87 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม188.38 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก643.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.