Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/722
Title: การบริหารการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3
Other Titles: School Management Information System in Basic Education Schools Under the Bangkok Area Education Office Zone 3
Authors: สิริกร, วัฒนธัญญาการ
Wattanatanyakarn, Sirikorn
Keywords: ระบบสารสนเทศ,การบริหารระบบสารสนเทศ,ระบบสารสนเทศโรงเรียน,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2009
Publisher: Dhonburi Rajabhat University.Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อระดับการบริหารการจัด ระบบสารสนเทศทางการศึกษาในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 3 เพื่อเปรียบเทียบการบริหารการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียน จำแนกตามความคิดเห็น ของผู้บริหารและครู และขนาดของโรงเรียน เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารการจัด ระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร 115 คนและครู 337 คนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3 จำนวน 42โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อ หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการบริหารการจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษา ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าการบริหารการจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษา ทุกขั้นตอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูต่อการบริหารการจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษา ในภาพรวมจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าระดับ การปฏิบัติของผู้บริหารและครูมีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าการบริหารการจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษาทุกขั้นตอนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สำหรับปัญหาอุปสรรค พบว่าการนำข้อมูลไปใช้ต้องใช้ประกอบกับข้อมูลหลายแห่งซึ่งโรงเรียน ไม่สามารถเข้าถึง บุคลากรที่รับผิดชอบมีเวลาไม่เพียงพอเพราะมีภาระงานอื่น ข้อเสนอแนะคือ ข้อมูลควรสามารถ โยงใย และรับจากแหล่งอื่นที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง ควรจัดบุคลากรที่รับผิดชอบให้มีเวลาเพียงพอในการปฏิบัติงาน โดยไม่กระทบต่อภาระงานอื่น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/722
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก145.89 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ74.68 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ113.17 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ73.36 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ183.51 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1153.71 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2550.57 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3305.92 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4658.75 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5292.61 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม305.08 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก228.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.