Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/74
Title: การมีส่วนร่วมในโครงการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้บริหาร บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด และบริษัทในเครือ
Other Titles: Participation in Social and Environmental Responsibility Projects of the Toyota Motor (Thailand) Co.Ltd. and Its Subsidiaries
Authors: ศิริพงค์, ตันทวีวิวัฒน์
Tantaveeviwat, Siripong
Keywords: ผู้บริหาร - การมีส่วนร่วม
Issue Date: 2013
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1)ศึกษาการมีส่วนร่วมในโครงการรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมของผู้บริหารบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทในเครือ 2) เปรียบเทียบการมี ส่วนร่วมในโครงการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และสังกัดหน่วยงานของผู้บริหาร 3) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ ลักษณะกิจกรรมและแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทในเครือ จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9746 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และ ค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทในเครือ มี ส่วนร่วมในโครงการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วม ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการร่วมรับรู้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การ ร่วมวางแผนในโครงการการร่วมดำเนินโครงการ การร่วมประเมินผลโครงการ และการร่วมรับผลสำเร็จของ โครงการ อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในโครงการรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมของผู้บริหารที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ต่างกัน พบว่าการมีส่วน ของผู้บริหาร ทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เว้นแต่ผู้บริหารที่ หน่วยงานสังกัดต่างกันเท่านั้น ที่พบว่า การมีส่วนร่วมในภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมในด้านที่ 1 การมีส่วนร่วมรับรู้ปัญหาและความ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านที่ 3 การร่วมดำเนินโครงการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ส่วนที่เหลืออีก 3 ด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้บริหารไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.05 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะกิจกรรมการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่องค์กรธุรกิจควร ดำเนินการ ได้แก่ การปลูกป่าเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในโครงการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ของผู้บริหาร หรือพนักงานขององค์กรธุรกิจที่ควรดำเนินการ ได้แก่ จัดค่ายอาสาป้องกันยาเสพติด
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/74
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก116.55 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ91.48 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ105.05 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ72.8 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ112.2 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1190.29 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 21.18 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3156.31 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4287.16 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5278.19 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม119.42 kBAdobe PDFView/Open
appenddix.pdfภาคผนวก168.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.